เมนู

ธรรมชาติที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยความ
ไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีความเห็นวิปริตเป็นลักษณะโดย
นัยเป็นอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อย และ
มีโทษมาก
เหมือนสัมผัปปลาปะ อีกอย่างหนึ่ง อนิยตฉาทิฏฐิมีโทษน้อย
นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก. องค์ของมิจฉาทิฏฐิมี 2 อย่าง คือ วตฺถุโน จ
คหิตาการวิปรีตตา
(เรื่องทั้งหลายวิปริตจากอาการที่ถือเอา) 1. ยถา จ ตํ
คณฺหาติ ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺฐานํ
(ความปรากฏแห่งเรื่องนั้นโดยความ
ไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ) 1. บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น กรรมบถย่อมแตกไป
เพราะนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิเท่านั้น กรรมบถย่อมไม่แตกไป
เพราะทิฏฐิอื่น ๆ.

ว่าด้วยอกกุศอกุศลกรรมบถ 5 ประเภท



พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ 10 แม้เหล่านี้ โดยอาการ 5 คือ
โดยธรรม (ธมฺมโต) โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต) โดยอารมณ์ (อารมฺ-
มณโต)
โดยเวทนา (เวทนาโต) โดยมูล (มูลโต).
บรรดาอาการ 5 เหล่านั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า ก็บรรดา
อกุศลกรรมบถ 10 เหล่านั้น อกุศลกรรมบถ 7 โดยลำดับ (คือกายทุจริต 3
วจีทุจริต 4) เป็นธรรมคือเจตนาเท่านั้น อกุศลกรรมบถ 3 มีอภิชฌาเป็นต้น
เป็นธรรมที่สัมปยุตกับเจตนา.
คำว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 8 ที่ไม่เป็นมูล คือ
อกุศลกรรมบถ 7 โดยลำดับ และมิจฉาทิฏฐิ 1. อภิชฌาและพยาบาทเป็น
กรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อภิชฌา คือ โลภะเพ่งถึงมูล ย่อมเป็น
อกุศลมูล พยาบาท คือ โทสะ ย่อมเป็นอกุศลมูล.

คำว่า โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์
เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมี
สังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มิจฉาจารมีสัตว์เป็นอารมณ์ ดังนี้บ้าง. มุสาวาท
มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. ปิสุณาวาจา มีอารมณ์เหมือน
มุสาวาท ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็น
อารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถธรรมคือ ทิฏฐะ สุตะ มุตะ
วิญญาตะ อภิชฌา ก็เหมือนกัน พยาบาท มีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น.
มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3.
คำว่า โดยเวทนา ได้แก่ปาณาติบาตเป็นทุกขเวทนา. จริงอยู่ พระ-
ราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว แม้ทรงพระสรวลอยู่ ก็ทรงตรัสว่า พวกเธอจง
ไปฆ่ามันเสียแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาที่ถึงความตกลงพระทัยของพระราชา
เหล่านั้นก็เป็นเจตนาสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยแท้. อทินนาทานมีเวทนา 3
จริงอยู่ อทินนาทานนั้น เมื่อบุคคลเห็นภัณฑะของผู้อื่นร่าเริงยินดีถือเอา
ก็เป็นสุขเวทนา เมื่อมีความหวาดกลัวถือเอาก็เป็นทุกขเวทนา หรือเมื่อพิจารณา
ผลอันไหลออกของอทินนาทานก็เป็นทุกขเวทนาเหมือนกัน แต่ในเวลาที่ลักไป
ตั้งอยู่ในภาวะความเป็นกลาง อทุกขมสุขเวทนาก็เกิดขึ้น. มิจฉาจารมีเวทนา
2 คือด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา แต่ในจิตที่ตกลงใจ
ไม่เป็นอุเบกขาเวทนา. มุสาวาท มีเวทนา 3 โดยนัยที่กล่าวแล้วในอทินนาทาน
นั่นแหละ ปิสุณาวาจา ก็มีเวทนา 3 เหมือนกัน. ผรุสวาจา เป็นทุกขเวทนา.
สัมผัปปลาปะ มีเวทนา 3. จริงอยู่ ในเวลาบุคคลผู้ยินดีร่าเริง กล่าวเรื่อง
มีการลักพานางสีดาและภารตยุทธ์เป็นต้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นกำลังให้สาธุการ

มีการยกขึ้นซึ่งแผ่นผ้าเป็นต้น สัมผัปปลาปะนั้น ย่อมเป็นสุขเวทนา. ครั้นเมื่อ
บุคคลคนหนึ่งให้สินจ้างไว้ก่อน แต่มาภายหลังคนอื่นพูดว่า ขอท่านจงกล่าว
เรื่องตั้งแต่ต้น ดังนี้ ในเวลาที่กำลังเล่าเรื่อง โทมนัสเกิดขึ้น ด้วยคิดว่า เรา
จักกล่าวกถาเบ็ดเตล็ดไม่สืบต่อกันหรือไม่หนอ ดังนี้ ย่อมเป็นทุกขเวทนา.
เมื่อเขากล่าวกถาเฉย ๆ ย่อมเป็นอทุกขมสุขเวทนา. อภิชฌา มีเวทนา 2
ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิ ก็มี 2 เหมือน
อภิชฌา. พยาบาท เป็นทุกขเวทนา.
คำว่า โดยมูล คือ ปาณาติบาตมี 2 มูล ด้วยสามารถแห่งโทสมูล
และโมหมูล. อทินนาทาน ก็มี2 มูล คือด้วยอำนาจแห่งโทสะ กับ โมหะ
หรือว่าด้วยอำนาจแห่งโลภะกับโมหะ มิจฉาจาร ก็มีมูล 2 คือด้วยอำนาจ
แห่งโลภะและโมหะนั่นแหละ มุสาวาท มี 2 มูล ด้วยสามารถแห่งโทสะกับ
โมหะ หรือโลภะกับโมหะ ปิสุณาวาจา และสัมผัปปลาปะก็มี 2 เหมือนกัน
ผรุสวาจา มี 2 มูล ด้วยสามารถแห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียว
ด้วยสามารถแห่งโมหะ พยาบาทก็มีมูลเดียวเหมือนกัน มิจฉาทิฏฐิมี 2 มูล
ด้วยอำนาจแห่งโลภมูลและโมหมูลแล.
จบกถาว่าด้วยอกุศลบถ

กถาว่าด้วยกุศลกรรมบถ 10



ธรรม 10 อย่างเหล่านี้ คือ การงดเว้นจากปณาติบาตเป็นต้น (มี
7 อย่าง) อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า กุศลกรรมบถ.
บรรดากุศลกรรมบถ 10 เหล่านั้น ปาณาติบาตเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าว